หลังคาไวนิลท้องเรียบ V-Roof
หลังคาไวนิลท้องเรียบ V-Roof
หลังคาไวนิลท้องเรียบ V-Roof มีให้เลือก 4 สี ( สั่งตัดได้ตามความยาวที่ต้องการ )
- หลังคา V-Roof สีขาว
- หลังคา V-Roof สีเทาเข้ม
- หลังคา V-Roof สีน้ำตาล
- หลังคา V-Roof สีโอ๊ก
อุปกรณ์ การติดตั้ง
- แผ่นเริ่ม
- แผ่นจบ
- แผ่นปิดชนผนัง
- สกรูปลายแหลม
รายละเอียด
หลังคาไวนิลท้องเรียบ V-Roof
หลังคาไวนิลท้องเรียบ V-Roof วัสดุผลิตจาก PVC (Poly Vinyl Chloride) ผลิตโดย Lumina โรงงานมาตรฐานในประเทศไทย งานทุกแผ่นผ่านการ QC และ ห่อด้วยพลาสติกป้องกันความเสียหาย จากรอยขีดข่วนบนหน้าแผ่น
ลักษณะโดยทั่วไป
- แผ่นหน้ากว้าง 25ซม. หนา 6มม.
- มี4 สีให้เลือก สีขาว, สีเทาเข้ม, สีน้ำตาล, สีโอ๊ก
- รูปลอนสวยงามเข้ากับบ้านและอาคารสำนักงาน
- ท้องแผ่นเรียบ สีขาว ดูสวยงาม
- มีอุปกรณ์ ตัวเริ่ม ตัวจบ และครอบชนผนังเข้ารูปลอน
- ติดตั้งง่าย ด้วยระบบ “Inter Lock”
- สั่งตัดได้ตามความยาวที่ต้องการ
คุณสมบัติ
- ไม่ลามไฟ
- มีฉนวนกันความร้อนในตัว
- กันแสงส่องผ่านได้ดี
- เคลือบแข็งด้วยสารโพลิเมอร์
- เคลือบกัน UV ท้งสองด้าน
- ไม่เปราะแตกง่าย รับแรงกระแทกได้ดี
- อายุการใช้งานยืนยาว รับประกัน 10 ปี
- กักเก็บเสียงได้ดี ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเวลาฝนตก
วิธีการติดตั้งโครงหลังคา Lumina รุ่น V-Roof
การติดตั้งโครงหลังคาไวนิล จำเป็นต้องมีการสร้างโครงที่แข็งแรง ระยะการวางจันทัน และแปที่เหมาะสมกับขนาดของเหล็กที่ใช้กับแผ่นไวนิล ซึ่งได้แก่ โครงเหล็ก และโครงสแตนเลส โดยมีแนวทางการติดตั้ง ดังต่อไปนี้
- เตรียมพื้นที่โครงคร่าว โดยมีระยะจันทันไม่ควรเกิน 1-1.2 เมตร มีระยะของแปไม่เกิน 40-50 เซ็นติเมตร (ระยะของแปสำคัญมาก) โดยไม่ควรเชื่อมแตะแปเหล็กเป็นจุด ควรเชื่อมยาวตลอดแขวของเหล็ก โดยให้หลังคาลาดเอียง 5 องศา
- นำตัวเริ่มยึดเข้ากับโครงโดยใช้สกรูปลายสว่าน ( ยาว 1 นิ้ว- 5 นิ้ว เบอร์ 7 – 8 )
- นำแผ่นหลังคาไวนิล แผ่นแรกตีเข้าร่องของตัวเริ่มที่ยึดไว้แล้ว โดยอัดซิลิโคน ( ชนิดไร้กรด ) เข้าร่องของแผ่นก่อนโดยใช้ไม้ขนาดพอเหมาะ ( ไม้หน้าสาม ) รองที่สันของขอบ แล้วใช้ค้อนตี จนเข้าสนิท
- ยึดแผ่นหลังคาด้วย สกรูปลายสว่าน ( ยาว 1 นิ้ว- 5 นิ้ว เบอร์ 7 – 8 ) ทุกจุดของระยะของแปเหล็ก
- ทำต่อเนื่องไปจนจบ แล้วจึงนำตัวจบเสียบเข้าร่องเป็นแผ่นุดท้าย ( ส่วนปลายของแผ่นไม่ควรยื่นเกิน 5 เซนติดเมตร ของโครงเหล็กด้านหน้า )
😆 Clip VDO วิธีการติดตั้ง หลังคาไวนิล V-Roof 😆 ⇐ คลิ๊ก
ข้อควรระวัง ในการเก็บรักษาแผ่นไวนิล ก่อนการติดตั้ง
- ควรวางแผ่นบนพื้นที่เรียบ ที่มีความยาวเท่ากับความยาวของแผ่น เพื่อมิให้แผ่นโค้งงอ
- การจัดวางแผ่นก่อนการใช้งาน ควรวางแผ่นไว้ในที่ร่ม ไม่ควรวางตากแดด
- ห้ามนำสารละลาย เช่นทินเนอร์หรือกรด เช็ดถูที่แผ่นโดยเด็ดขาด ควรใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำยาล้างจานเช็ดเท่านั้น
ข้อดี และ ข้อเสีย ของหลังคาไวนิล
บทความจาก https://www.baanlaesuan.com/
ไวนิลผลิตจาก PVC (Poly Vinyl Chloride) หรือจะเรียกง่ายๆ คือพลาสติกสังเคราะห์ที่ถูกผสมด้วยสารเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆหลายชนิด มีความทนทานสูงต่อสภาวะอากาศต่างๆ ไวนิลถูกนำมาใช้ในหลายธุรกิจ ตั้งแต่ป้ายไวนิลที่เห็นได้ตามริมถนน จนไปถึงอุปกรณ์การแพทย์ ส่วนในธุรกิจก่อสร้างไวนิลก็ถูกนำมาเป็นผลิตเป็นแผ่นหลังคาหลากหลายรูปแบบ นำมาสร้างเป็นทั้งหลังคากันสาด หลังคาโรงจอดรถ ส่วนต่อเติมหลังบ้าน ซึ่งแทบจะเป็นที่นิยมมากกว่าหลังคาเมทัลชีทกันเลยทีเดียว
หลังคาไวนิล เป็นวัสดุแผ่นหลังคาที่ทำมาจาก UPVC หรือ Unplasticised Poly Vinyl Chloride ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาวะอากาศ ไม่ลามไฟ ไม่เป็นพิษ มีการนำความร้อนที่ต่ำและสามารถซับเสียงได้ดีแม้เวลาฝนตก มีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี
แผ่นหลังคาไวนิล สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายลักษณะเช่น แบบท้องเรียบ, ลอนคู่, ลอนเดี่ยว, ลอนสาม ฯลฯ ซึ่งลักษณะที่ต่างไปจากเมทัลชีทและแผ่นหลังคาลอนคู่ทั่วไปก็คือการที่แผ่นหลังคาไวนิลมักจะใช้การเข้าลิ้นเพื่อต่อแผ่นหลังคาเข้าด้วยกัน จึงทำให้แผ่นหลังคาสามารถทำลอนที่แบนกว่าหลังคาแบบอื่นๆ ลดปัญหาเรื่องการรั่วซึมตามรอยต่อแผ่นได้เลย
ข้อดี
- ทนทานต่อแรงกระแทกเพราะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่นหากมีของแข็งหล่นใส่หลังคา กระเบื้องลอนคู่อาจแตก และเมทัลชีตอาจบุบได้ แต่ไวนิลแทบจะไม่เป็นอะไรเลย
- ช่วยประหยัดไฟได้จากความสามารถในการป้องกันความร้อน
- ช่วยซับเสียงได้ ฝนตกจะไม่เกิดเสียงรบกวน
- ไม่ลามไฟจึงสามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย
- สามารถออกแบบหลังคาที่ลาดชันน้อยได้จากการเข้าลิ้นไม่ต้องกังวลเรื่องหลังคารั่ว
- มีโปรไฟล์ของแผ่นที่ต่ำ
- มีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
- ยังมีราคาต่อตารางเมตรที่สูงกว่าเมทัลชีทและแน่นอนที่สุดคือสูงกว่ากระเบื้องลอนคู่
- มีแต่แบบขาวขุ่น ไม่มีแบบใส
- เมื่อใช้ไปนานๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีได้บ้าง
คำถามพบบ่อยกับหลังคาไวนิล
หลังคาไวนิลทนทานไหม?
สำหรับคำว่าทนทานนั้นสามารถตีความได้หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามอายุการใช้งานของหลังคาไวนิลนั่นก็อยู่ในหลัก 10 ปี ซึ่งถือได้ว่าทนทานสู้วัสดุอื่นๆได้อย่างดี ไม่ว่าจะในแง่ความแข็งแรงและทนทานต่อสภาวะอากาศ หากจะมีอะไรที่หลังคา UPVC ไม่ถูกโรคก็คงจะเป็นเรื่องของสะเก็ดไฟ หรือ ความร้อนที่สูงกว่าความร้อนของแสงแดด เช่น ถ้าจะทำโรงงานหรือสตูดิโอมีประกายไฟหรืออุปกรณ์ที่แผ่ความร้อนสูงอย่างเตาเซรามิค หลังคาประเภทนี้ก็อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมนัก
หลังคาไวนิลกับเมทัลชีท อะไรคุ้มค่ากว่ากัน?
หากมองกันในเรื่องราคา วัสดุรวมติดตั้งของทั้งสองวัสดุจะอยู่ที่ 1500-1700 บาทสำหรับหลังคาเมทัลชีท และ 2500-3000 สำหรับหลังคาไวนิล UPVC อาจจะแพงกว่ากันเกือบเท่าตัว แต่ก็แลกมาด้วยการป้องกันความร้อนที่ดีกว่าของ UPVC และ UPVC ยังเงียบกว่าหลังคาเมทัลชีทยามฝนตกอีกด้วย แต่ถ้าหากต้องการเพียงหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝนที่มีน้ำหนักเบาในราคาประหยัด เมทัลชีทก็ยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอยู่ดี
ไวนิลแล้วก็ไวนิลให้หมดเลยดีไหม?
ถ้าถามว่าเมื่อใช้หลังคา UPVC แล้วจำเป็นต้องเลือกใช้ส่วนประกอบอื่นๆเป็น UPVC หรือไม่? หากว่าหมายถึงกรอบบานประตูหน้าต่างที่ทำจาก UPVC ก็ต้องบอกว่าไม่จำเป็น แต่ถ้าเป็นส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับหลังคาโดยตรงเช่นแผ่นปิดลอน แฟรชชิ่งที่เชื่อมกับอาคารหรือฝ้าใต้ชายคา ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกันได้ก็จะลดปัญหาในการยืดหดตัวของวัสดุที่แตกต่างกันลงได้ แต่สำหรับวัสดุประกอบอย่างรางน้ำก็อาจจะยังคงใช้ของเดิมได้ตามสะดวก
แผ่นหลังคาไวนิลกับการต่อเติมห้องครัวดีหรือไม่?
การต่อเติมครัวโดยใช้แผ่น หลังคาไวนิล สามารถทำได้ตามปกติเหมือนกับหลังคาชนิดอื่นๆ จะติดฝ้าด้านในหรือปล่อยเปลือยก็ได้เช่นกัน แต่ต้องระวังเรื่องการติดตั้งกับโครงเหล็ก ซึ่งถ้าโครงเหล็กไม่ได้เคลือบน้ำยากันสนิมให้ดี เมื่อเหล็กโดนน้ำแล้วเกิดสนิมก็จะทำให้หลังคาติดสนิม เป็นสีสันที่ไม่สวยเหมือนเดิม
สนใจ สอบถามสินค้า และสั่งซื้อ โทร 097-442-9299, 02-180-0135
Line ID : @st-metalroof และ stmetalroof